วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ตุลาคม ๒๕๔๖ (๒) การตรวจสอบและจัดระเบียบเกี่ยวกับวัดบนเกาะดอนสวรรค์


ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายปานชัย บวรรัตนปราณ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อ “ตรวจสอบและจัดระเบียบเกี่ยวกับวัดบนเกาะสวรรค์” พิจารณาเรื่องที่มหาวิทยาลันเกษตรศาสตร์ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนฯเห็นว่าเกาะดอนสวรรค์ควรพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป แต่เนื่องจากมีสิ่งปลูกสร้างคือวัดที่อาจจะมีการขยายพื้นที่ออกไป ส่งผลให้ธรรมชาติบนเกาะสูญหายไปได้ จึงควรมีแนวทางแก้ปัญหาในยุติ

โดยมีคณะทำงานจำนวนมาก เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเมืองฯ โยธาและผังเมือง สิ่งแวดล้อมจังหวัด รองอธิการบดีม.เกษตรศาสตร์ ประมงจังหวัด ภาคประชาชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฯ เป็นต้น  โดยมีการสรุปความเป็นมาของดอนสวรรค์ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ดอนสวรรค์ อยู่กลางหนองหารมีพื้นที่ราวร้อยไร่เศษ 
เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๓ กรรมาธิการการศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมจังหวัดสกลนครมีเหตุต้องตรวจสอบการสร้างหอพระพรหมที่วัดดอนสวรรค์(ร้าง) รวมทั้งให้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรในที่ดินดอนสวรรค์หรือประกาศยกเลิกเป็นวัดร้าง ผลการตรวจสอบโดยการตั้งกรรมการทั้งฝ่ายสงฆ์และฆารวาส พบว่าผู้ดูแลเป็นพระจากกรุงเทพฯ คือพระอาจารย์สมนึกและไปต่างประเทศโดยไม่มีกำหนดกลับ จึงบอกแก่พระลูกวัด ๒ รูปว่า หากกลับมาแล้วให้ไปรายงานตัวและห้ามนำพระพรหมขึ้นประดิษฐานที่หอพระพรหม และการก่อสร้างใดๆ ก็ตามต้องได้รับความเห็นชอบจากจังหวัด

อำเภอเมืองสกลนครตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ดินที่ดอนสวรรค์เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๓ สรุปว่า
  1. ราชการได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่สาธารณะชื่อ “หนองหารสาธารณะประโยชน์” เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๓ และ ๒๕๔๐ ออกหนังสือสำหคัญ ๒ ฉบับครอบคลุมพื้นที่หนองหารทั้งหมด และไม่ปรากฏว่าหนังสือฉบับนี้ได้กันพื้นที่ดอนสวรรค์ไว้สำหรับการทำประโยชน์อื่นใด
  2. คณะสงฆ์ที่ร่วมตรวจสอบวัดดอนสวรรค์(ร้าง) ไม่ทราบแน่ชัดว่าร้างมาแต่เมื่อใด ซึ่งพื้นที่วัดร้างอาณาเขตราว ๘๕ ไร่ที่”ไม่มีแนวเขตล้อมรอบ) ได้ตรวจดูเอกสารทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติกลางและที่วัดร้างจังหวัดสกลนครลำดับที่ ๒๑ แล้ว ไม่ได้ระบุเนื้อที่วัดร้างไว้แต่อย่างใด

แต่การตรวจสอบเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๓ ปรากฏว่า บนเกาะดอนสวรรค์ในบริเวณที่กล่าวว่าเป็นวัดร้างนั้นมีสิ่งก่อสร้างคือ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง, กุฎิสองชั้น ๑ หลัง, โบสถ์ ๑ หลัง, หอพระพรหม ๑ หลัง, หอพระ ๑ หลัง, ห้องน้ำ ๖ ห้อง และมีภิกษุขณะนั้น ๓ รูป 

ต่อมากรมการศาสนาให้จังหวัดสกลนครตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับวัดร้างและศาสนสมบัติกลาง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ กลับมีปรากฏว่าวัดดอนสวรรค์(ร้าง) หลักฐานที่ดินไม่ระบุแต่ระบุเนื้อที่ ๘๕ ไร่ เป็นวัดในบัญชีลำดับที่ ๑ จึงมีการประชุมกันโดยมีการสรุปว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะมีวัดที่ดอนสวรรค์  เนื่องจากไม่มีหลักฐานการครอบครองที่ดิน และเห็นควรให้มีการจัดประชาพิจารณ์เพื่อให้สังคมรับทราบโดยสถาบันราชภัฎสกลนคร

วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ จึงเสนอให้มีการแก้ปัญหาอีกครั้ง และเสนอให้เจ้าคณะจังหวัด (พระราชศีลโสภิต) ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ช่วยแก้ปัญหาด้วย และได้ผลสรุปว่า “เป็นวัด(ร้าง)แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน”  ทั้งคณะกรรมการตรวจสอบของอำเภอรายงานว่าเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นการหาข้อสรุปไม่ได้

กรรมการชุดนี้สรุปแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ ว่า

เสนอให้กันที่วัด(ร้าง)ดอนสวรรค์ออกจากที่ดินสาธารณประโยชน์  แล้วขอยกวัดร้างให้เป็นวัดมีพระภิกษุสงฆ์ต่อกรมการศาสนาต่อไป และจัดให้เป็นที่ท่องเที่ยว ขอให้คณะสงฆ์แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดดอนสวรรค์  และมีอีกข้อที่เสนอให้ยุบเลิกวัดร้างแต่ให้พัฒนาพื้นที่เกาะดอนสวรรค์












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น