วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๔

การรอคอยการแก้ปัญหาที่ดิน ๗๐ กว่าปี กับการจะออกโฉนดให้สำเร็จภายใน ๓๐ วัน ????

ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๕๘ หน้า ๔๖๗  วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๘๔

พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร
จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช ๒๔๘๔

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล .อ. พิชเยนทร  โยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔
เป็นปีที่ ๘ ในรัชชกาลปัจจุบัน


        โดยที่เห็นสมควรกำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดินในบริเวณหนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
คณะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  พุทธศักราช  ๒๔๗๘   จึ่งให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้  ดั่งต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้ให้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร  จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช ๒๔๘๔”
มาตรา ๒  ให้ใช้พระราชกฤษฎีกา ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๔ ให้หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเขตต์ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ไว้เพื่อประโยชน์ในการบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี




จากภาพขอบเขตสีชมพูคือแนวตามพระราชกฤษฎีกา ที่ทำให้เกิดปัญหากับชาวบ้านรอบหนองหารที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิใดๆ ได้มามากกว่า ๗๐ ปี ทั้งที่ๆ แนวเขตน้ำในเส้นสีดำเป็นเขตที่นำท่วมถึงเมื่อปี ๒๕๒๗ ดังนั้น ผู้ที่เดือดร้อนรอบหนองหารยังคงมีปัญหาที่แก้ไขไม่ตกจากพระราชกฤษฎีกานี้
หากแต่เมื่อมีการประชุมเพื่อจะออกโฉนดให้กับดอนสวรรค์ที่มีสีเขียวในแผนที่อย่างรวดเร็วที่การประชุมใช้ประโยคว่าถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้านก็จะทำตามกำหนดเวลาให้ได้ไม่เกิน ๓๐ วันนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการรอคอยการแก้ปัญหาของชาวบ้านมากว่า ๗๐ ปี ดูจะไม่มีเหตุผลหรือมาตรฐานใดๆ เอาเสียเลย กับการทำงานในการดูแลของรัฐเช่นนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น