วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

พ.ศ. ๒๕๓๒ ปีแห่งความพยายามขอดำเนินการขึ้นทะเบียนวัดร้างจากฝ่ายปกครอง -ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร


๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ มีหนังสือจากรองผู้ว่าฯ รต.วิชัย โพธิ์สุวรรณพงส์ ปฏิบัติการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ไปถึงอธิบดีกรมการศาสนาขอให้ขึ้นทะเบียนวัดดอนสวรรค์(ร้าง) โดยด่วน โดยมีสำเนาผังบริเวณ สำเนาหนังสือปูมเมือง (ที่คาดว่าน่าจะเป็นการประกาศในราชกิจจานุเบกษา?) และสำเนาหนังสืออื่นๆ อ้างว่ามีวัดร้างที่เกาะดอนสวรรค์พื้นที่ราวร้อยไร่เศษ เจ้าคณะอำเภอเมืองให้ความเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่โบราณมีหลักฐานเก็บไว้ที่วัดศรีสุมังคล์ แต่หลักฐานถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ กรมการศาสนาส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ และค้นหาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำมาอ้างอิง เพราะ”ไม่มีทะเบียนวัดร้างชื่อวัดดอนสวรรค์(ร้าง)อยู่ในทะเบียของกรมการศาสนา จึงพบ”ปูมเมือง” ดังกล่าวนี้และน่าจะใช้เป็นหลักฐานได้  ทางจังหวัดเห็นชอบจึงขอให้กรมการศาสนารีบขึ้นทะเบียนโดยด่วน





สำเนาผังบริเวณ เป็นีเอกสารบันทึกมาจากศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เข้าไปสำรวจวัดดอนสวรรค์(ร้าง) ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๒ ว่าพบฐานอุโบสถทั้ง ๔ ทิศโดยวัดขนาดของฐานโบสถ์นั้นขนาดราวๆ ๑๒.๔๓ x ๑๐ เมตร ส่วนการวัดพื้นที่ของวัดเป็นการประเมินพื้นที่คร่าวๆ โดยไม่มีหลักฐานอื่นใดยืนยัน โดยมีด้านหนึ่งอยู่ริมหนองหารและด้านหนึ่งเป็นสถานีประมงน้ำจืด รวมขนาดที่ดินราวๆ ๓๐๐ เมตร x ๒๐๐ เมตร หรือราวๆ ๓๗.๕ ไร่


การไปสำรวจนี้ก็เนื่องมาจากเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๒ เทศบาลเมืองสกลนครสอบถามไปทางจังหวัดว่ามีวัดร้างหรือศาสนสถานที่ขึ้นทะเบียนไว้หรือไม่ ต่อมาเจ้าอาวาสวัดศรีสุมังคล์ แจ้งไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครอ้างว่าได้รับเงินงบประมาณจากกรมการศาสนาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ แต่ไม่พอซ่อม และยังคงดูแลวัดที่ดอนสวรรค์มาโดยตลอด แต่หลักฐานถูกไฟไหม้ไปพร้อมกุฎิเจ้าอาวาสเมื่อ ๒๕๒๗ จึงอยากจะให้จังหวัดขึ้นทะเบียนวัดร้างเป็นศาสนสมบัติกลาง  และ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๒  ผู้ว่าราชการเห็นชอบ (นายบุญเลิศ โรจนลักษณ์) 

เดือนกันยายน ๒๕๓๒ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนครตอบเทศบาลว่าวัดบนดอนสวรรค์สร้างมาก่อนพ.ศ.๒๔๘๔ หมายถึงก่อนมีพรบ.คณะสงฆ์ ถือว่าเป็นวัดถูกต้องตามฏกหมายถือเป็นศาสนสมบัติกลางควรรายงานกรมการศาสนา และตั้งกรรมการสำรวจอีกชุดหนึ่งในปีนั้น และผลการสำรวจสรุปได้ความข้างต้นนั่นเอง




 ส่วน “หนังสือปูมเมือง” ที่กล่าวถึง น่าจะเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรียกการประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าเป็นหนังสือ “ปูมเมือง” เอกสารที่ค้นมาได้นี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๗๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการประกาศแจ้งความของกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่องสร้างโบสถ์วัดดอนสวรรค์ จังหวัดสกลนคร จากใบบอกจากมณฑลอุดร ที่มีนายอำเภอธาตุเชิงชุม (หลวงศรีนครานุรักษ์ ขันธ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร) บริจาคทรัพย์และบอกบุญเรี่ยไรจัดอุโบสถที่วัดดอนสวรรค์ ทรงมนิลา บอกขนาดอย่างละเอียดคือ ๘.๕ x ๕.๕ เมตร ผู้รายงานคือ มหาอำมาตย์เอกพระยาธานีนิวัต หรือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร หรือ หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล  ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการระหว่าง พ.ศ.๒๔๖๙-๒๔๗๕ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น