วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาหนองหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓

"โดยสรุป" ทั้งหมดที่กฤษฎีกาตีความมานี้ หากมีหนังสือจากข้าหลวง ซึ่งอนุมานได้ว่าคือ นายอำเภอเมืองหรือผู้บังคับบัญชาคือผู้ว่าราชการจังหวัดยินยอมให้ใช้ได้ การเข้าใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณประโยชน์นี้ก็ย่อมสามารถทำได้


หน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดสกลนครและใกล้เคียงถกเถียงกันจนเป็นปัญหาใหญ่ถึงอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายจนต้องพึ่งพาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจนเป็นที่มาของการวินิฉัย ที่เป็นตัวอย่างอันดีของการรวบรวมกฎหมายทั้งหมดทั้งมวล   

พื่อตัดสินในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการต่างๆ นับจากอดีจจนถึงเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หน่วยงานใดควรมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่หนองหาร  ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน การบำรุงรักษาสัตว์น้ำ การดูและไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่ เพื่อให้หนองหารเป็น "ที่สาธารณประโยชน์" 


คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะท่ี 6) ได้พิจารณา ปัญหาดังกล่าวโดยได้รับฟังคําชี้แจงข้อเท็จจริงจากผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดินและกรมการปกครอง) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) กระทรวงคมนาคม (สํานักงานปลัดกระทรวงและกรมเจ้าท่า) และกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) แล้ว มีความเห็นว่า 
ที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จังหวัดสกลนครนี้ เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่กําหนดให้เป็นที่ดินหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 ซึ่งออกตามมาตรา 5*(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 
ที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร) เป็นเขตหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําและห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการ ใด ๆ ในที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่คือ "ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนคร" 
การสงวนหวงห้ามที่ดิน บริเวณ "หนองหาน" ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงเป็นการสงวนหวงห้ามที่ดินไว้ เพื่อประโยชน์ของพลเมืองได้ใช้ร่วมกัน และเมื่อยังมิได้ถูกถอนสภาพหรือโอนไปใช้เพื่อการอื่นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ดินบริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304 (2)*(4) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณ "หนองหาน" นี้จึงต้องกระทําไปเพื่อการส่งเสริมหรือรักษาบริเวณนี้ให้คงสภาพ เป็นสถานที่สําหรับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําอันจะเป็นประโยชน์แก่กิจการประมงต่อไป
โดยที่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า กรมประมง ได้ดําเนินการสร้างคันกั้นน้ําเพื่อให้บริเวณ "หนองหาน" สามารถกักเก็บน้ําได้ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ และเข้าดําเนินการเกี่ยวกับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ํา ตามอำนาจหน้าที่ของกรมประมงในบริเวณดังกล่าวมาแต่ต้น กรมประมงจึงมีอํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาบริเวณ "หนองหาน" ให้เป็นที่สําหรับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําตามวัตถุประสงค์ของการสงวนหวงห้ามดังกล่าวข้างต้น
ประกอบกับข้อ  57*(8) แห่งประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับท่ี 218 ลงวัน ท่ี 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ตรวจตราดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้คงสภาพตามวัตถุประสงค์ที่ทางราชการได้หวงห้ามไว้มิให้เสียสาธารณประโยชน์  และมิให้ผู้ใดนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะตัว
ฉะนั้น อํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ  "หนองหาน" จึงเป็นทั้งของกรมประมงและนายอําเภอแห่งท้องที่



จึงคัดลอกจากเวบไซต์ของกรมที่ดินมาให้อ่านฉบับเต็ม
เลขเสร็จ 14/2533 
เรื่อง  บันทึกเรื่อง อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร 
เนื้อหา 
กรมที่ดินได้มีหนังสือ ด่วนมาก ท่ี มท 0711/22609 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2532 ถึง สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ด้วยจังหวัดสกลนครได้ส่งเรื่องหารือกรณีสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 (หนองคาย) อให้จังหวัดพิจารณาทบทวนถึงสถานภาพความรับผิดชอบในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ "หนองหาน" ว่าเป็นของหน่วยงานใด ในชั้นแรกนั้นจังหวัดเห็นว่า หนองหานอยู่ในความรับผิดชอบชอบของ กรมประมง เพราะสถานีประมงน้ําจืดสกลนครเป็นผู้ใช้ในกิจการประมง 
ต่อมาสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคท่ี 7 (หนองคาย) ได้ทักท้วงว่า "หนองหาน" เป็นหนองน้ําสาธารณประโยชน์ซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันน่าจะต้องอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับท่ี 50 
จังหวัดพิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่า กรมประมงมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 เพียงควบคุมการประมงหรือจับสัตว์น้ำเท่านั้น ส่วนอํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่สาธารณประโยชน์แห่งน ตกแก่นายอําเภอเมืองสกลนครตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องท่ี พุทธศักราช 2457 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 5 (1) ซึ่งแตกต่าง จากความเห็นของสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 (หนองคาย) จึงส่งเรื่องให้กรมที่ดิน ประสานงานกับกรมเจ้าท่าและกรมประมงเพื่อพิจารณาชี้ขาดให้ยุติว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบที่สาธารณประโยชน์ "หนองหาน" 
กรมที่ดินพิจารณาแล้วปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ 
1. ที่ดินในบริเวณ "หนองหาน" ปรากฏว่าได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนด เขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 กำหนดเป็นที่หวงห้ามไว้ โดยมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกําหนดให้ หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ไว้เพื่อประโยชน์ในการบํารุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ําและห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
2. กรมที่ดินได้ประสานงานขอความเห็นกรณีดังกล่าวจากกรมเจ้าท่า กรมประมง และกรมการปกครองแล้ว ได้รับแจ้งผลการพิจารณาดังนี้ 
2.1 กรมประมงเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 กรมประมงมีอํานาจในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่สาธารณประโยชน์ "หนองหาน" ซึ่งเป็นที่จับสัตว์น้ําตามกฎหมายประมงด้วยเฉพาะกรณีเพื่อประโยชน์ในการทําประมง การอนุรักษ์สัตว์น้ําและที่จับสัตว์น้ำเท่านั้น ส่วนอํานาจในการดูแลรักษา คุ้มครอง ป้องกันในกรณีอื่นนอกจากนี้กรมประมงไม่มีอํานาจแต่อย่างใด 
2.2 กรมเจ้าท่าเห็นว่า อํานาจในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ "หนองหาน" เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมเจ้าท่าเนื่องจากอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม มาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ได้ถูกลบล้าง โดยมาตรา 117 มาตรา 118 และมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทยพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 50 ลงวันที่่ี 18 มกราคม พ.ศ. 2515 ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 7) ได้ให้ความเห็นไว้ และเนื่องจากอำนาจของกรมเจ้าท่าครอบคลุมตลอดทั้งแม่น้ำลำคลอง หนองบึง อ่างเก็บน้ํา ทะเลสาบ และทะเลภายใน อันเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น จึงรวมไปถึง "หนองหาน" ด้วย
2.3 กรมการปกครองเห็นว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่่ี พุทธศักราช 2457 เป็นพระบรมราชโองการมีมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติการประมงฯ และประกาศของคณะปฏวิ ตั ิ ฉบับที่ 50 ฯ ใช้บังคับ ไม่เคยปรากฏว่าอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโดยกฎหมายอื่นอย่างชัดแจ้ง 
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า "หนองหาน" เป็นหนองน้ําสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน กรมการอําเภอ จึงยังคงมี "อำนาจทั่วไป" ในการดูแลรักษา โดยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐบาลในส่วนภูมิภาค ส่วนกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มีฐานะเป็น ทบวงการเมือง มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับที่สาธารณประโยชน์ในที่ดินของรัฐเช่นกัน โดยมีกฎหมายต่าง ๆ กำหนดไว้หลายฉบับซึ่งล้วนแต่กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ให้แก่อธิบดีและเจ้าเจ้าท่า ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล อาจโอนหรือมอบอำนาจไปให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ จึงน่าจะไม่ขัดต่อต่ออำนาจหน้าที่ทั่วไปของนายอำเภอ 
โดยที่ความเห็นของหน่วยงานดังกล่าวยังแตกต่างกันอยู่ จึงยังไม่อาจ วินิจฉัยได้ว่า "หนองหาน" เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใด และหน่วยงานใด จจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตลอดจนอนุญาตให้ผู้ใดเจ้ากระทำด้วยประการใดๆ ในบริเวณดังกล่าว และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย กรมที่ดินจึงขอ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาวินิจฉัยเพื่อความถูกต้องในทางปฏิบัติต่อไป 
คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะท่ี 6) ได้พิจารณา ปัญหาดังกล่าวโดยได้รับฟังคําชี้แจงข้อเท็จจริงจากผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดินและกรมการปกครอง) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) กระทรวงคมนาคม (สํานักงานปลัดกระทรวงและกรมเจ้าท่า) และกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) แล้ว มีความเห็นว่า 
ที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จังหวัดสกลนครนี้ เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่กําหนดให้เป็นที่ดินหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 ซึ่งออกตามมาตรา 5*(1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478  โดยในมาตรา 4*(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กําหนดให้หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ (ซึ่งเป็นที่ดินบริเวณ "หนองหาน" จังหวัดสกลนคร) เป็นเขตหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําและห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการ ใด ๆ ในที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่คือ "ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนคร" ตามนัยมาตรา 3*(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ซึ่งจากวัตถุประสงค์ของการหวงห้ามที่ดินบริเวณนี้จะเห็นได้ว่า การบํารุงพันธุ์สัตว์น้ํานั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไปในการประกอบกิจการประมงต่อไป และตามข้อเท็จจริงกปรากฏจากคำชี้แจงของผู้แทนกรมประมงด้วยว่าประชาชนได้เข่้าไปทําการประมงในบริเวณ "หนองหาน" นี้มาโดยตลอด ซึ่งทางราชการมิได้หวงห้าม แต่อย่างใด นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็มิได้มีข้อความตอนใดที่จะแสดง ให้เห็นว่า ต้องการหวงห้ามที่ดินบริเวณนี้ไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ การที่มีข้อห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการบางอย่างไว้ก็เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาสภาพการเป็นที่บํารุงพันธุ์สัตว์น้ําให้คงอยู่ตลอดไป ฉะนั้น การสงวนหวงห้ามที่ดิน บริเวณ "หนองหาน" ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงเป็นการสงวนหวงห้ามที่ดินไว้ เพื่อประโยชน์ของพลเมืองได้ใช้ร่วมกัน และเมื่อยังมิได้ถูกถอนสภาพหรือโอนไปใช้ เพื่อการอื่นโดยถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ดินบริเวณนี้ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304 (2)*(4) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เมื่อที่ดินบริเวณ "หนองหาน" นี้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภท ทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามมาตรา 1304 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และทางราชการได้สงวนหวงห้ามไว้โดยกําหนดวัตถุประสงค์เป็นพิเศษให้ใช้เป็นที่บํารุงพันธุ์สัตว์น้ําเท่านั้น การดําเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณ "หนองหาน" นี้จึงต้องกระทําไปเพื่อการส่งเสริมหรือรักษาบริเวณนี้ให้คงสภาพ เป็นสถานที่สําหรับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําอันจะเป็นประโยชน์แก่กิจการประมงต่อไป ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าวย่อมจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ได้กําหนดแนวทางปฏิบัติ และการดูแลรักษาบริเวณที่มีการจัดไว้เพื่อประโยชน์แก่การทําการประมงรวมทั้งการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําไว้โดยเฉพาะแล้ว  และโดยที่ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า กรมประมง ได้ดําเนินการสร้างคันกั้นน้ําเพื่อให้บริเวณ "หนองหาน" สามารถกักเก็บน้ําได้ในปริมาณที่มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ และเข้าดําเนินการเกี่ยวกับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ํา ตามอำนาจหน้าที่ของกรมประมงในบริเวณดังกล่าวมาแต่ต้น กรมประมงจึงมีอํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาบริเวณ "หนองหาน" ให้เป็นที่สําหรับการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําตามวัตถุประสงค์ของการสงวนหวงห้ามดังกล่าวข้างต้น ภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบที่พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ได้บัญญัติไว้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 117*(5)  มาตรา 121*(6) และมาตรา 122*(7) ประกอบกับข้อ  57*(8) แห่งประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับท่ี 218 ลงวนั ท่ี 29 กันยายน พ.ศ. 2515 ได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ตรวจตราดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้คงสภาพตามวัตถุประสงค์ที่ทางราชการได้หวงห้ามไว้มิให้เสียสาธารณประโยชน์  และมิให้ผู้ใดนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ นายอำเภอแห่งท้องที่นั้นจึงยังคงมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปที่จะดูแลรักษาที่ดินบริเวณ  "หนองหาน" นี้อยู่ด้วยเท่าที่ไม่ขัดต่ออำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของกรมประมงตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ฉะนั้น อํานาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ  "หนองหาน" จึงเป็นทั้งของกรมประมงและนายอําเภอแห่งท้องที่ ซึ่งต่างมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการดูแลรักษาด้วยกัน ตามขอบเขตและตามความมุ่งหมาย ของบทบัญญัติของกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่  แต่ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ “หนองหาน” ของหน่วยงานดังกล่าวจะต้องเป็นการดำเนินการไปเพื่อปกป้องรักษาสภาพการใช้ที่ดินบริเวณนี้เพื่อการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ํา หรือเป็นการกระทําที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของประชาชนตามขอบเขตของวัตถุประสงค์ ในการสงวนหวงห้ามที่ดินบริเวณนี้ไว้เท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้บุคคลใด ๆ เข้าไปกระทําการใด ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณนี้เป็นประการอื่นที่แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ของการสงวนหวงห้ามไว้ หรือเป็นการขัดขวางต่อสภาพการใช้ประโยชน์ ร่วมกันของประชาชนได้แต่อย่างใด 
สําหรับกรณีของกรมเจ้าท่านั้นมาตรา 117*(9) และมาตรา 119*(10) แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 บัญญัติให้กรมเจ้าท่าเป็นผู้ดูแลรักษาทางน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ  ทั้งนี้ เพื่อควบคุมดูแลกิจการใดๆ ที่เกี่ยวกับทางน้ําให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 แต่เมื่อบรเิ วณ "หนองหาน" เป็นที่สงวนหวงห้ามที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ําโดยเฉพาะโดยมีการกําหนดขอบเขตของบริเวณนี้ไว้แน่นอนหรือทะเลภายในน่านน้ําไทยอันจะเป็นเหตุให้เกิดการตื้นเขินหรือตกตะกอน หรือทำให้แม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือ ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ําไทยสกปรกเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือเป็นอันตรายแก่การเดินเรือ เว้นแจ่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และต้องชดใช้เงินค่าใช้จ่ายที่เจ้าท่าต้องเสียในการขจัดสิ่งเหล่านั้นด้วย
ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการใช้บริเวณ "หนองหาน" ในกิจการที่จะต้องอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่า ฉะนั้นกรมเจ้าท่าจึงไม่มีภาระหน้าที่ในการดูแลรักษาบริเวณ "หนองหาน" ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 
(ลงชื่อ) วัฒนา รัตนวิจิตร (นายวัฒนา รัตนวิจิตร) 
รองเลขาธิการ ฯ 
ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 
มกราคม 2533. 
ไพบูลย์ฯ-คัด /ทาน 

เชิงอรรถ
* 1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน พุทธศักราช 2478 
       มาตรา 5 การหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้ออกเป็นพระราช กฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุ 
       (1) ความประสงคที่หวงห้าม
       (2) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้าม
       (3) ที่ดินซึ่งกำหนดว่าต้องหวงห้าม 
       ให้มีแผนที่แสดงเขตที่ดินดังกล่าวแล้วติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา แผนที่ที่กล่าวนี้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา แต่ในกรณีหวงห้ามที่ดิน ริมทางหลวงนั้นจะกําหนดเขตที่ดินซึ่งหวงห้ามนับจากเส้นกลางทางหลวงออกไป เป็นระยะทางดั่งจะได้กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาก็ได้ 
* 2. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 
       มาตรา 4 ให้หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเขตตามแผนที่ท้าย พระราชกฤษฎีกานี้ไว้เพื่อประโยชน์ในการบํารุงพันธุ์สัตว์น้ํา   
       ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใดๆใน ที่ดินนั้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
  • 3. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484 
       มาตรา 3 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด สกลนคร เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้ 
 *4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
   มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นรวมทรัพย์สินทุกชนิดของ แผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น 
       (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน 
       (2) ทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางน้ํา ทางหลวง ทะเลสาบ 
       (3) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อมและโรงทหารสํานักราชการบ้านเมือง เรือรบอาวุธยุทธภัณฑ์ 
*5. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องท่ี พุทธศักราช 2457 
       มาตรา 117 ห้วย คลอง และลำน้ำต่างๆ ย่อมเป็นของที่รัฐบาลปกปักรักษา เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องตรวจตราอย่าใหเสียและอย่าให้ ผู้ใดทําให้เสียสาธารณประโยชน์ ถ้าจะต้องซ่อมแซมตกแต่งให้กรมการอําเภอเรียก ราษฎรช่วยกันทําอย่างกับปิดน้ําฉะนั้น 
* 6. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่่ี พุทธศักราช 2457 
       มาตรา 121 ที่น้ําอันเป็นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ําเป็นหน้าที่ของกรมการอําเภอที่จะตรวจตรารักษาป้องกันมิให้พืชพันธุ์สัตว์น้ําสูญไป 
* 7. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 
       มาตรา 122 ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ คือที่เลี้ยงปศุศัตว์ที่จัดไว้สําหรับราษฎรไปรวมเลี้ยงด้วยกันเป็นต้น ตลอดจนถนนหนทางและที่อย่างอื่นซึ่งเป็นของกลางให้ราษฎรใช้ได้ด้วยกัน เป็นหน้าที่ของกรมการอําเภอจะต้องคอยตรวจตรา รักษาอย่าให้ผู้ใดเกียจกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว 
* 8. ประกาศของคณะปฏิวัติิ ฉบับท่ี 218 ลงวัน ท่ี 29 กันยายน พ.ศ. 2515
      ข้อ 57 ในอำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนหนึ่งหวั หนา้ ปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ นายอําเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย 
       บรรดาอํานาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอําเภอหรือนายอําเภอซึ่งกฎหมายกําหนดให้กรมการอําเภอและนายอําเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอ  
* 9. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 
       มาตรา 117 ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งใดล่วงล้ําเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ํา และใต้น้ำของแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ําไทย เว้นแต่จะได้รับอนญาตจากเจ้าท่า
* 10. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พุทธศักราช 2456 
       มาตรา 119 ห้ามมิให้ผู้ใดเททิ้งหิน กรวด ทราย ดิน โคลน อับเฉา สิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใด ๆ รวมทั้งน้ำมันและเคมีภัณฑ์ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น